Project Planning Service PCL, Author at Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC https://pps.co.th/author/webmaster Project Planning Service PCL Mon, 03 Oct 2022 09:15:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.3 https://pps.co.th/wp-content/uploads/2020/04/cropped-fav-pps02-32x32.png Project Planning Service PCL, Author at Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC https://pps.co.th/author/webmaster 32 32 ตอนที่ 18 – ลงนามปลอม…อีกแล้วครับท่าน ! https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-1-%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b9%81?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-1-%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25b5%25e0%25b8%2581%25e0%25b9%2581 Wed, 27 Feb 2019 14:28:33 +0000 https://pps.co.th?p=8246 The post ตอนที่ 18 – ลงนามปลอม…อีกแล้วครับท่าน ! appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 18 – ลงนามปลอม…อีกแล้วครับท่าน !


สำนักงานเขตแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ได้ส่งหนังสือขอหารือมายังผมในฐานะเลขาธิการสภาวิศวกรว่า มีผู้ยื่นขออนุญาตสร้างป้ายยาว………..เมตร สูง………..เมตร โดยใช้เสาเข็มคอนกรีต ขนาด 6 นิ้ว x 6 นิ้ว ยาว 6.00 เมตร ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สภาฯ ตรวจสอบรายการคำนวณว่า ป้ายจะมั่นคงแข็งแรงหรือไม่ เพราะป้ายขนาดที่ว่านี้และใช้เสาเข็มขนาดเท่านี้ เคยล้มทับคนตายมาแล้วที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารมาตรา 28 ระบุว่า หากผู้ขออนุญาตได้มอบหมายให้วิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตของสภาฯ เป็นผู้คำนวณสิ่งก่อสร้างดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ไม่ต้องตรวจสอบรายการคำนวณนั้น ตาม พ.ร.บ. วิศวกร มิได้ระบุให้สภาฯ มีหน้าที่ตรวจรายการคำนวณในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างใดๆ ด้วย แต่โดยสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมผมจึงได้เชิญวิศวกรผู้มีชื่ออยู่ในแบบป้ายดังกล่าวมาสนทนา เพื่อหาข้อมูลข้อเท็จจริง ผลปรากฏว่า วิศวกรผู้นั้นได้ตรวจดูเอกสารทั้งหมดดังกล่าวแล้ว พบว่าท่านมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ถูกแอบอ้างชื่อไปใช้อย่างจงใจ และท่านได้ชี้ให้เห็นว่า ลายมือชื่อของวิศวกรที่ลงนามกำกับในแบบและรายการคำนวณทุกแผ่นจะเหมือนกัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะเซ็นชื่อทุกครั้งได้เหมือนกันเปี๊ยบ ซึ่งหากสังเกตดีๆ จะเห็นว่า เขาใช้ตรายางประทับนั่นเอง และบางแผ่นประทับแล้ว มีเส้นซ้อนกันเสียด้วย ผมจึงทำเป็นบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และแนะนำให้วิศวกรผู้นั้นไปแจ้งความ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง พร้อมทั้งแนะนำให้ไปติดต่อที่สำนักงานเขตดังกล่าว เพื่อแจ้งข้อมูลโดยด่วน

ส่วนสภาฯ ก็ได้มีหนังสือตอบกลับไปยังสำนักงานเขตฯ พร้อมกับแนบบันทึกการสนทนาซึ่งใช้เป็นหลักฐานประกอบว่า ผู้ขออนุญาตดังกล่าวได้ปลอมลายมือชื่อของวิศวกรมาใช้ และขอให้สำนักงานเขตฯพิจารณาดำเนินการยับยั้งการกระทำดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อไป

สมาชิกวิศวกรผู้ถือใบอนุญาตทั้งหลายอ่านเรื่องนี้แล้วอย่าลืมตรวจสอบรายชื่อในโครงการก่อสร้างต่างๆ ด้วยว่า มีชื่อของท่านปรากฏอยู่ โดยที่ท่านมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วยหรือไม่ พูดง่ายๆ ก็คือ ท่านอาจจะถูกแอบอ้างเอาชื่อไปใช้นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของท่านเองนะครับ…!

The post ตอนที่ 18 – ลงนามปลอม…อีกแล้วครับท่าน ! appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 8 – เรื่อง FOC มีเรื่อยๆ https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-2-foc-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%86?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-2-foc-%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a3%25e0%25b8%25b7%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25a2%25e0%25b9%2586 Wed, 27 Feb 2019 14:27:03 +0000 https://pps.co.th?p=8244 The post ตอนที่ 8 – เรื่อง FOC มีเรื่อยๆ appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 8 – เรื่อง FOC มีเรื่อยๆ


เมื่อปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลไทยได้รับเกียรติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับชาติ APEC ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งคำว่า APEC นี้ ย่อมาจากคำว่า Asia Pacific Economic Community ในการประชุมระดับชาติครั้งนี้ มีท่านผู้นำจากหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย แล้วก็แน่ละ… ย่อมมีประเทศสหรัฐอเมริการวมอยู่ด้วย

รัฐบาลไทยจึงได้ถือโอกาสนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยไปในตัว เพราะในการประชุมครั้งนี้ ท่านผู้นำของแต่ละประเทศที่มาร่วมประชุมล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลสำคัญๆ ระดับโลกทั้งสิ้น ได้แก่ ประธานาธิบดีบุช แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย นายกรัฐมนตรีโคอิซุมิ แห่งประเทศญี่ปุ่น และท่านผู้นำประเทศอื่นๆ อีกหลายท่าน นอกจากนี้ยังมีผู้นำด้านเศรษฐกิจและนักธุรกิจของแต่ละประเทศติดตามมาร่วมประชุมครั้งนี้ด้วยเป็นจำนวนมาก

ในการประชุมดังกล่าว รัฐบาลไทยได้ใช้หอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่ของกองทัพเรือ บริเวณกรมอู่ทหารเรือ ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช วันที่กำหนดให้มีการประชุม คือวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และเมื่อการประชุมเสร็จสิ้น รัฐบาลก็ได้จัดเลี้ยงอาหารค่ำให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ที่สโมสรราชนาวิกสภา ซึ่งอยู่ติดกัน โดยใช้รถสามล้อเครื่อง หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า… รถตุ๊กตุ๊ก… เป็นพาหนะในการรับท่านผู้นำและภรรยาของประเทศต่างๆ ไปส่งยังสโมสรฯ และในระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำรัฐบาลไทยก็ได้จัดให้มีการแสดงแสง สี เสียง ประกอบพิธีพยุหยาตราทางชลมารคจำลองขึ้น ซึ่งในการนี้ นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ทำเรื่องของพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกรณีพิเศษ เพื่ออวดความสวยงาม ตระการตาของกระบวนการแห่เรือดังกล่าว ให้บรรดาแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศได้รับชม การแห่เรือครั้งนี้ได้ใช้พระบรมมหาราชวังเป็นฉากหลัง มีการจุดพลุไฟหลากหลายสีสันเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความสวยงามและความตื่นตาตื่นใจขึ้นอีกมากมาย

การแสดงครั้งนี้ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มีโอกาสได้รับชมอย่างไม่รู้ลืม ถึงความงดงาม และความยิ่งใหญ่อลังการตระการตา ของการแสดงดังกล่าว และเหล่าสื่อมวลชนจากหลายๆ ประเทศก็ได้เผยแพร่ภาพแห่งความงามนี้ไปทั่วโลก ซึ่งมีส่วนในการช่วยสร้างภาพพจน์ และประชาสัมพันธ์ ให้คนทั่วโลกได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย

ผมได้รับการทาบทามจาก ผู้ช่วยรัฐมนตรีพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล (ตำแหน่งขณะนั้น) ให้ไปช่วยติดตามดูแล และเร่งรัดงานของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างต่างๆ เพื่อให้ทุกอย่างแล้วเสร็จให้ทันการประชุมระดับชาติที่กำหนดไว้ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผมถือเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มีโอกาส รับใช้ประเทศชาติในการทำงานระดับชาติในครั้งนี้ จึงได้ตกปากรับคำไปด้วยความยินดีและเต็มใจ แต่เมื่อผมได้เข้าไปช่วยทำก็พบว่า ผมคงจะไม่สามารถทำงานทั้งหมดได้แน่ หากเข้าไปดูอย่างละเอียดในทุกโครงการ จึงได้แต่ดูอยู่ห่างๆ ในภาพรวมในโครงการทั่วๆ ไป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 โครงการ แต่โครงการที่น่าหนักใจที่สุด ก็คือ โครงการก่อสร้างหอประชุมของกองทัพเรือ ที่จะใช้ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นพระเอกของเรื่อง . . . นั่นเอง

ผมเข้าไปช่วยงานวันแรกคือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ขณะนั้นอาคารเพิ่งเริ่มก่อสร้างอยู่ที่ระดับชั้นเสมอดิน ฐานบางส่วนยังไม่แล้วเสร็จ และเหลือเวลาอีกประมาณ 6 เดือน ที่จะดำเนินการให้สำเร็จเรียบร้อย วันที่ผมเข้าประชุมวันแรกนั้น บอกตามตรงว่า . . . ผมรู้สึกค่อนข้างอึดอัด เพราะตามสถานะของผมแล้ว เหมือนเป็นคนที่มาจากฝ่ายการเมือง ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมหลายท่าน อาจไม่แน่ใจในบทบาทที่ผมได้รับ แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกมาเป็นคำพูด เพียงแต่บางท่านแสดงออกมาเป็นภาษากายบ้าง ซึ่งผมก็ทำไม่รู้ไม่ชี้เสีย ยึดเอาความบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้งและในที่สุด . . . การประชุมครั้งนี้ก็ได้ทำให้ผมประทับใจมาก เนื่องจากก่อนที่จะเริ่มประชุม ได้มีผู้เข้ามาแสดงตัวเป็นลูกศิษย์และรุ่นน้อง และให้การทักทายผมอย่างอบอุ่น ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปทันที ประกอบกับท่านผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ ท่านได้เมตตาให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดี ทั้งหมดนี้ คงจะเป็นด้วยอานิสงส์ของการเป็นอาจารย์พิเศษของผมกระมัง . . .

ผมเข้าไปช่วยแนะนำบ้างตามความรู้ที่มีอยู่อย่างจำกัด ฝ่ายก่อสร้างของกองทัพเรือ โดยการนำของพลเรือตรีฐนิธ กิตติอำพน ท่านได้เปลี่ยนวิธีการก่อสร้างโครงสร้างของหอประชุมดังกล่าว โดยทำเสาขึ้นไปถึงหลังคาทีเดียว เพื่อจะได้มุงหลังคาของหอประชุมก่อน จะได้ไม่ต้องกลัวฝน และในการบริหารงานครั้งนี้ได้ใช้วิธีการบริหารงานในระบบ CM ซึ่งเจ้าของงานทำ CM เอง กล่าวคือ เจ้าของงานจะช่วยในการบริหารจัดการงานเกือบทั้งหมด นอกเหนือจากการคุมงาน เช่น ช่วยในการวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ เป็นต้น

ผมเข้าร่วมประชุมในโครงการนี้ประมาณ 2 สัปดาห์ต่อครั้ง เห็นมีอะไรพอแนะนำได้ก็ช่วยแนะนำไป หรือหากช่วยติดต่อใครได้บ้าง ก็ยินดีติดต่อให้ และเวลามีประชุมกับ สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการนี้ ก็จะช่วยด้านรายงานในฐานะคณะติดตามงาน และเมื่อมีคำถามว่า?หอประชุมจะเสร็จทันเวลาไหม?? ผมก็ได้ให้คำยืนยันว่า . . . ?เสร็จทันแน่นอนครับ? เพราะทหารกับวิศวกรคิดเหมือนกัน และมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเหมือนกัน คือ มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนให้เข้าสู่เป้าหมาย มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด

สุดท้ายก็คือ จะต้องมีแผนสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินด้วย และในที่สุดงานก็ได้แล้วเสร็จโดยเรียบร้อย และทันตามกำหนดเวลา ด้วยความสามรถของคณะทำงานของกองทัพเรือ สำหรับผมไม่รู้จริงๆ ว่าได้ช่วยอะไรเขาไปบ้าง หรือมากน้อยแค่ไหน แต่ก็ดีใจและภูมิใจทุกครั้งที่ได้ยิน ท่านพลเรือโทฐนิธ กิตติอำพน พูดกับคนอื่นๆ ถึงผมว่า ?พี่สงค์…ช่วยเยอะ…? อ้อ! และเมื่อเสร็จงานนี้แล้ว ท่านได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้ากรมยุทธโยธาธิการ ทหารเรือ และยังได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ขอแสดงความยินดีด้วย . . . ครับผม

อ่านเรื่องนี้จนจบแล้ว ท่านผู้อ่านทราบหรือยังครับว่า ?FOC? คืออะไร ถ้าไม่ทราบผมจะเฉลยให้ก็ได้ว่า ?FOC ก็หมายถึง Free Of Charge นั่นเองครับ?

The post ตอนที่ 8 – เรื่อง FOC มีเรื่อยๆ appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 17 – กำแพงแสน https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-4-%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%aa%e0%b8%99?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-4-%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b3%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%259e%25e0%25b8%2587%25e0%25b9%2581%25e0%25b8%25aa%25e0%25b8%2599 Wed, 27 Feb 2019 14:23:02 +0000 https://pps.co.th?p=8240 The post ตอนที่ 17 – กำแพงแสน appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 17 – กำแพงแสน


ผมตั้งหัวข้อของเรื่องนี้ขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้โทรศัพท์มาเชิญผมไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนเสริมในภาควิชาการบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งเขาได้ทาบทามผมไว้นานแล้ว และผมก็เป็นคนประเภทเป็นโรค Say No Phobia คือ กลัวการปฏิเสธ และผมได้ตั้งปณิธานไว้นานแล้วว่า สำหรับสถาบันการศึกษาของรัฐที่ถือว่า เป็นงานสาธารณประโยชน์ที่ไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์ ผมจะไม่ปฏิเสธหากสถาบันการศึกษาเหล่านั้นเรียกใช้

ผมอารัมภบทมาออกจะยืดยาว แต่อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเล่านักก็คือ มีผู้ประกอบกิจการก่อสร้างรายหนึ่ง ได้อ่านหนังสือ ?ประสบการณ์งานช่าง? ของผมแล้ว มีปัญหาขึ้นมาว่า ต้องการทำกำแพงห้องใต้ดิน ซึ่งจะต้องขุดดินลึกลงไปประมาณ 3 เมตร กำแพงที่ต้องสร้างนั้นอยู่ห่างจากอาคารเดิม เพียง 40 เซนติเมตร ปัญหาคือ ต้องทำการขุดดินอย่างไร จึงจะไม่สร้างความกระทบกระเทือน หรือความเสียหายให้กับอาคารเดิมที่อยู่ใกล้กัน และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงสร้างชั่วคราว เพื่อป้องกันดินพังด้วย

ผมถามเขาว่า เขารู้จักผมได้อย่างไร เขาบอกว่า เขาได้อ่านเรื่อง ?วงกลมหกหมื่น? ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในหนังสือ ?ประสบการณ์งานช่าง? ที่ผมเขียน ก็เลยอยากจะปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น ผมได้ยินคำว่า ?วงกลมหกหมื่น? ก็เลยนึกไปถึงเรื่องที่คล้ายๆ กันนี้เรื่องหนึ่ง คือ มีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหานครท่านหนึ่ง ถามผมว่า . . . วงกลมหกหมื่น แล้วสี่เหลี่ยมเท่าไร ผมก็ตอบไปว่า ?สี่เหลี่ยมฟรี?ครับ? พอมาคราวนี้ ผู้รับเหมาก่อสร้างท่านนั้นก็ถามผมว่า กำแพงเท่าไร ผมจึงตอบตามชื่อเรื่องไปว่า ?กำแพงแสน?

กล่าวคือ ค่าจ้างที่ต้องคิดหาทางว่าจะต้องสร้างกำแพงตามที่ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องการ โดยมีโจทย์ดังกล่าวข้างต้นนี้ ผมขอคิดค่าที่ปรึกษาเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาทถ้วน ซึ่งเมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างรายนี้ตกลง ผมก็ได้ให้คำปรึกษาไปโดยมีรายละเอียดดังนี้

อาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ห่างจากทะเลประมาณ 300 เมตร พื้นที่จึงเทลาดลงไปยังทะเล และพื้นที่ 2 ด้านที่เขาต้องการจะทำกำแพงของห้องใต้ดิน จะต้องขุดดินลึก 3 เมตร ห่างจากอาคารเดิมประมาณ 40 เซนติเมตร ด้านที่ 3 อยู่ติดกับถนน ขุดทิ้ง Slope ตามธรรมชาติได้ ส่วนด้านที่ 4 ติดกับทางลาดขึ้นชั้น 2 (Ramp) ของอาคารเดิม สำหรับทางลาดนี้มีจุดสูงสุดประมาณ 4 เมตรจากพื้นดิน ซึ่งถ้าขุดลงไปอีก 3 เมตร จะรวมเป็นความสูงทั้งหมด 7 เมตร ด้านนี้ผมแนะนำให้เขาขุด Ramp ทิ้งทั้งหมด แล้วทำเหมือนด้านที่ 3 ส่วนด้านที่เป็นปัญหาอีก 2 ด้าน ซึ่งเขาคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี เพราะถ้าตอก Sheet Pile ก็แพง หรือจะ Grout ก็แพงเหมือนกัน ผมจึงแนะนำให้เขาขุดทรายบริเวณนั้นออกใส่ถุงปุ๋ยไว้ แล้วนำมาเรียงกันเป็นกำแพง แบบเดียวกับ Bunker ของทหาร หรือกระสอบทรายที่ชาว กทม. วางกั้นไว้เพื่อไม่ให้น้ำท่วมนั่นแหละครับ แต่การทำกำแพงดังกล่าวต้องมีเทคนิค นั่นคือ หากขุดดินอย่างธรรมดา ผนังก็จะพังลงมา ซึ่งผมก็ได้ทำแปลงทดลองกลางบ่อที่จะขุด ผลก็คือ ผนังพังลงมาจริงๆ แต่ผมได้เตรียมกระสอบทรายไว้แล้ว และให้นำกระสอบทรายนั้น เรียงลงไปโดยทำเป็น Trench แคบๆ เป็นช่องๆ โดยขุดดินให้ลึก 1.50 เมตร ก่อน แล้วจึงเรียงกระสอบทรายทำเป็น Bunker แล้วขุดให้กระสอบที่เรียงแล้ว โดยทำเสร็จทีละช่อง แต่ต้องระมัดระวังเป้นอย่างยิ่งและต้องควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด ดินหลังผนังก็จะไม่พัง เพราะติดกระสอบทรายที่เรียงไว้ ทำหน้าที่เป็น Gravity Wall งานนี้จึงจะประสบผลสำเร็จ . . .

ต่อมาภายหลังผมได้เอาเทคนิคนี้ไปบรรยายเชิงประสบการณ์ให้กับสถานศึกษาหลายแห่ง ผู้เข้าฟังฟังแล้ว มากระซิบบอกกับผมว่า . . .คราวต่อไป อาจารย์อย่าเป็นเปลี่ยน ?กำ แ พ ง เ พ ช ร? นะครับ?!

The post ตอนที่ 17 – กำแพงแสน appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 29 – ลบทำไม https://pps.co.th/technician-experience-2/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-6-%e0%b8%a5%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-6-%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b3%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%25a1 Wed, 27 Feb 2019 14:19:36 +0000 https://pps.co.th?p=8236 The post ตอนที่ 29 – ลบทำไม appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 29 – ลบทำไม


มาตรฐานทุกมาตรฐาน เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการต้องปฏิบัติ สำหรับวัสดุ เรามี มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน ม.อ.ก. เป็นสิ่งกำหนดสำหรับสินค้า ผู้ที่ผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐาน จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ทำเครื่องหมายมาตรฐาน หรือติดตราเครื่องหมายมาตรฐานลงบนสินค้าของตน

สำหรับมาตรฐานโดยทั่วๆ ไป จะกำหนดให้ทำเครื่องหมายระบุชั้นคุณภาพของสินค้านั้นๆ ลงบนตัวสินค้า เพื่อให้เป็นเครื่องแสดงถึงขั้นคุณภาพของสินค้านั้นๆ ให้ผู้ซื้อได้รับทราบ ซึ่งเจ้าของสิทธิ์เท่านั้น ที่ทำได้อย่างนี้ ผู้ที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพจะไม่ได้รับสิทธิ์นี้ ตัวอย่างเช่น เหล็กเส้น มาตรฐานกำหนดให้ทำเครื่องหมายแสดงชื่อผู้ผลิต ชั้นคุณภาพ และขนาดของเหล็กเส้นนั้นๆ ไว้ทุกๆ ระยะ 1.00 เมตร ที่ตัวเหล็กเส้น ดังนั้นไม่ว่าเหล็กเส้นจะถูกตัดไปใช้งานโดยมีความยาวเท่าไรก็ตาม หากมากกว่า 1.00 เมตร ก็จะยังคงมีเครื่องหมายเหล่านี้ ปรากฏอยู่ที่ตัวเหล็กเส้นอยู่เสมอ ทำให้ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบ ขั้นคุณภาพของเหล็กเส้นนั้นๆ ได้

ผู้ควบคุมคุณภาพที่ดีควรมีความรู้พื้นฐานอย่างนี้ ท่อเหล็กต่างๆ ก็เช่นกัน จะต้องทำอย่างนี้ทั้งสิ้น หากเป็นสินค้าที่ผลิตตามมาตรฐาน ม.อ.ก. สำหรับท่อประปาที่เป็นเหล็กนั้น ระดับขั้นคุณภาพ จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ท่อที่ไม่ได้รับแรงดันสูง เช่น ท่อน้ำทิ้ง จะเป็นท่อที่มีราคาถูก เพราะจะใช้เหล็กที่มีขนาดบางกว่าท่อชนิดอื่นๆ ท่อชนิดนี้ช่างบางรายเรียกกว่า ชั้นคุณภาพ A มีเครื่องหมายแสดง คือ ทาด้วยสีน้ำตาล ส่วนท่อขนาดที่ทนแรงดันได้สูงกว่า เช่น ท่อชั้นคุณภาพ B และ C ซึ่งทาด้วยสีน้ำเงิน และสีแดง ตามลำดับ

เมื่อผมทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการของงานโครงการแห่งหนึ่ง ซึ่งใช้ท่อตามมาตรฐาน ม.อ.ก. ผมสังเกตพบว่า ท่อที่ใช้บางส่วนไม่ได้ทาสี จึงเข้าไปดูใกล้ๆ ก็พบว่า สีที่ใช้กำหนดชั้นคุณภาพของท่อดังกล่าวถูกลบออกไป แต่ถ้าสังเกตให้ละเอียดจริงๆ จะยังพออ่านเครื่องหมายที่ถูกลบออกไปได้ ซึ่งปรากฏว่าท่อเหล็กที่โดนลบดังกล่าวเป็นท่อที่ชั้นคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ผู้ควบคุมงานของผู้รับจ้างจึงต้องตอบคำถามของผมว่า เขา ?ลบทำไม? และเมื่อเขาไม่สามารถหาเหตุผลมาตอบคำถามนี้ได้ ก็จำเป็นต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ คือ ถูกให้ออกจากงานตามระเบียบในข้อที่ว่าด้วยการทุจริตในหน้าที่การงานนั่นเองท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าโทษแค่นี้ทำไมต้องถูกไล่ออก

ผมเองก็มาทราบภายหลังว่า ที่เขาโดนไล่ออก ก็เพราะทุจริตในหน้าที่นั้นเรื่องหนึ่ง แล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คือ จะ โกง ทั้ง ที ก็ ทำ แบบ สะเพร่า คือ ทำได้ไม่แนบเนียนทำให้ถูกจับได้ และเ สื่ อ ม เ สี ย ชื่ อ เ สี ย ง ม า ถึ ง บ ริ ษั ท ฯ ด้วยครับ ?

The post ตอนที่ 29 – ลบทำไม appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 14 – ลาก่อนกัปตันโอตะ https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-1-%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9b%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%ad?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-1-%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2581%25e0%25b9%2588%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2582%25e0%25b8%25ad Wed, 27 Feb 2019 13:27:41 +0000 https://pps.co.th?p=8191 The post ตอนที่ 14 – ลาก่อนกัปตันโอตะ appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 14 – ลาก่อนกัปตันโอตะ


ผมคงโชคดีหรือยังไงไม่ทราบที่ได้มีโอกาสทำงานขนาดใหญ่เสมอ ๆ และทำงานจบจนทุกงาน แม้ออกมาตั้งบริษัทเองแล้วก็ยังต้องกลับไปช่วยงานที่ทำค้างอยู่จนเสร็จงานที่ได้รับมอบหมาย ผู้ใหญ่บอกว่าที่ผมโชคดีเสมอนี้เป็นเพราะผมไม่เคยลืมบุญคุณของอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาและประสบการณ์ให้

โครงการออกแบบและก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นโครงการระดับชาติอีกโครงการหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโครงการร่วมร่วมกับที่ปรึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้นประเทศไทยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้นำประเทศ ท่านที่คนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมาก ท่านได้ส่งเสริมให้วิศวกรไทยได้มีบทบาทในโครงการขนาดใหญ่ทุกโครงการโดยตั้งเป็นนโยบายว่า ถึงแม้วิศวกรไทยจะทำงานนั้นๆ ไม่ได้ ก็ควรจะให้โอกาสในการมีส่วนร่วมเรียนรู้และรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีไว้ทุกๆ โครงการในฐานะ Counterpart

กุศโลบายนี้ บางครั้งอาจจะไม่ได้รับการถ่ายทอดมายังผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันอย่างครบถ้วน และแม้แต่ตัววิศวกรเองหลายคนก็ไม่เข้าใจกุศโลบายที่ว่านี้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อเขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกับที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ วิศวกรเหล่านั้นจึงทำตัวเป็นเพียง ?ผู้ส่งเอกสาร? เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสีย-ดายเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้พลาดโอกาสที่สำคัญเช่นนั้นไป

หน่วยงานที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมากที่สนองรับนโยบายดังกล่าวและปฏิบัติตามได้อย่างดี มีตัวอย่างที่ผมได้สัมผัสและขอเอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้คือ องค์การรถไฟฟ้ามหานคร วิธีการที่หัวหน้าหน่วยงานทำอย่างง่ายๆ คือ ให้โอกาสช่างเทคนิคและวิศวกรไทยได้ทำงานอย่างสมศักดิ์ศรีและมีส่วนร่วมในงานอย่างจริงจัง ไม่ใช่ทำแค่ในนาม หรือเป็นเพียงผู้ลงชื่อรับผิดชอบเท่านั้น ถ้าลงไปชมงานขุดอุโมงค์จะเห็นว่า คนบังคับเครื่องหัวขุดเจาะและใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหัวเจาะเป็นคนไทยเกือบทั้งนั้น เป็นเรื่องน่าสรรเสริญมาก

ช่วงที่ผมทำงานร่วมกับญี่ปุ่นในโครงการแหลมฉบังช่วงแรกๆ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าไรนัก แต่ผมก็ได้แสดงบทบาทของผู้จัดการโครงการร่วมอย่างเต็มที่ และขอเป็นผู้นำเสนองานต่อเจ้าของงานเอง แรก ๆ เจ้าของงานก็ไม่ค่อยเห็นด้วย แต่ผมได้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบว่า ต้องทำ… เพื่อแสดงให้เห็นว่าการถ่ายโอนเทคโนโลยีได้ผล คนไทยสามารถนำเสนอเองได้ เมื่อเป็นที่เข้าใจกันดีแล้วญี่ปุ่นก็สอนงานผมมากพอจนเป็นผู้นำเสนอเองได้ ทั้งๆ ที่ผมไม่เคยมีประสบการณ์งานท่าเรือน้ำลึกเลย เพราะประเทศไทยไม่เคยมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกเช่นนี้มาก่อน

ช่วงทำงานออกแบบคณะของเราได้ว่าจ้างกัปตันเรือจริงๆ มา 1 คน เพื่อให้เป็นผู้ให้คำแนะนำและเสนอแนะในแบบที่เราทำเสร็จแล้ว ซึ่งเราวิเคราะห์ทั้งการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ การจำลองสภาพท่าเรือจริง โดยย่อส่วนให้เล็กลง แล้วทำการทดลองในห้องทดลอง และจำลองสภาพการนำเรือเข้าเทียบท่าด้วย Real Time Computer Simulator แล้วก็ให้กัปตันเรือจริงๆ ให้คำแนะนำด้วย กัปตันคนนี้มีชื่อว่า กัปตันโอตะ ครับ…

ช่วงเสร็จภารกิจมีการเลี้ยงอำลาที่บ้านผู้จัดการโครงการ ผมได้รับเชิญไปด้วยในฐานะผู้จัดการโครงการร่วม ในการอำลาอย่างเป็นพิธีการนั้น เขาให้ผู้จัดการโครงการนั่งเก้าอี้ แล้วกัปตันโอตะก็เข้าไปคุกเข่าคารวะอำลาแบบญี่ปุ่น ซึ่งกับตันโอตะได้ให้เกียรติอย่างสูงแก่ผม โดยให้ผมขึ้นไปนั่งคู่กับนายของเขาด้วย ผมพยายามบ่ายเบี่ยง แต่เขาก็ไม่ยินยอม โดยอ้างว่าผมก็ทำหน้าที่ผู้จัดการโครงการร่วม ซึ่งก็เปรียบเสมือนนายคนหนึ่งของเขาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อจะต้องมีพิธีการอำลา ผมก็ควรจะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับนายของเขาเหมือนๆ กัน ซึ่งทำให้ผมทึ่งในระเบียบวินัยของเขาจนมาบัดนี้ซ า โ ย น า ร ะ กั ป ตั น โ อ ต ะ !!!

The post ตอนที่ 14 – ลาก่อนกัปตันโอตะ appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 22 – ขอบคุณซุปเปอร์แมน https://pps.co.th/technician-experience-2/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-2-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%8b%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-2-%25e0%25b8%2582%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%259a%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%25b8%25e0%25b8%2593%25e0%25b8%258b%25e0%25b8%25b8%25e0%25b8%259b%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%25a3%25e0%25b9%258c Wed, 27 Feb 2019 13:25:40 +0000 https://pps.co.th?p=8189 The post ตอนที่ 22 – ขอบคุณซุปเปอร์แมน appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 22 – ขอบคุณ… ซุปเปอร์แมน


การทำงานขุดดินลึก ในการก่อสร้างระบบฐานรากในดินกรุงเทพฯ สมัยก่อนนี้ (พ.ศ. 2516) เป็นงานค่อนข้างยาก เพราะเครื่องมือ ยังไม่ดีเท่าสมัยนี้ Backhoe ก้านยาวไม่มี เข็มพืดกันดินพัง ก็ยังไม่ค่อยมีแพร่หลาย และไม่มีให้เช่าเหมือนในปัจจุบัน งานขุดเพื่อก่อสร้างห้องใต้ดินลึกๆ สมัยนั้นก็มีธนาคารศรีนคร จำกัด สำนักงานใหญ่ที่สวนมะลิ อาคารราชดำริอาเขต (ซึ่งรื้อไปแล้ว) และอาคารแอสแคป เท่านั้น

คนที่ไม่เคยทำงานขุดดินลึกเกิน 2.00 เมตร ก็มักจะคิดว่า . . . เมื่อขุดดินลึกต้องมีปัญหาเรื่องน้ำใต้ดิน ซึ่งคงจะมาจากน้ำในดินนั่นเอง แต่สำหรับงานขุดดินลึกในกรุงเทพฯ จะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะภูมิประเทศของกรุงเทพฯ เป็นดินเหนียว ซึ่งมีความทึบน้ำดีมาก กล่าวคือ ไม่ยอมให้น้ำไหลผ่านง่ายๆ นั่นเอง ดังนั้น แม้จะมีน้ำอยู่ใต้ดินเท่าไร เช่น 20% หรือแม้แต่ 50% ก็ตาม เมื่อขุดดินออกไป น้ำส่วนที่อยู่ในดินนั้น ก็จะติดดินตามไปด้วย น้ำที่มาใหม่ก็จะซึมมาได้ยาก แต่ถ้าเป็นดินทราย คือ มีน้ำอยู่ในดินปนทราย เมื่อขุดดินออกไปก็จะได้แต่ดินทราย น้ำจะไม่ถูกขุดออกไปด้วยและน้ำใต้ดินก็จะไหลมาแทนที่ได้ง่าย

ปัจจุบันความรู้เรื่องนี้ดีขึ้นมาก แม้กระนั้นก็ตามปัญหาเรื่องการป้องกันดินพังระหว่างการขุด ก็ยังต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงการของตนเองแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารข้างเคียงได้มากด้วย รัฐบาลได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดีจากปัญหา ที่เกิดขึ้นเสมอๆ ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ (พ.ศ. 2530 ? 2540) จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการขุดดินขึ้นและประกาศใช้ในปี 2543

ช่วงขุดดินที่ลึกที่สุด . . . ในการสร้างห้องใต้ดิน ของอาคารเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ถนนราชดำเนินนอกนั้น จะต้องขุดลึกประมาณ 6 เมตร ต้องใช้ Sheet Pile ลึกประมาณ 12 เมตร และมีการค้ำยันเป็นช่วงๆ ประมาณ 2 ชั้น แต่ก็ไม่ได้มีการคำนวณ หรือเสนอวิธีการทำงานเป็นเรื่องเป็นราวมากนัก ดังนั้นเมื่อขุดถึงระดับ ก็พบว่าเข็มผิดศูนย์จำนวนมาก ซึ่งอนุมานได้ว่าเป็นผล เนื่องมาจากการขุดดินและเข็มตอกผิดอยู่แล้วด้วย เพราะส่วนที่ไม่ได้ขุดดินก็ตอกผิดศูนย์มากเช่นกัน จึงต้องมีการเจาะเข็มแซมหลายต้น หลังจากทำเข็มเจาะเสร็จ ปรากฏว่ามีดินโคลนอยู่เป็นจำนวนมาก อันเนื่องจากการก่อสร้างเข็มเจาะระบบ INSTRUTION PREPAKT ปริมาณรวมแล้ว มีความสูงถึง 60 ซ.ม. บ่อที่ขุดนี้กว้างประมาณ 16 x 28 ตารางเมตร ดินโคลนที่มีนี้ จำเป็นที่จะต้องนำขึ้น ซึ่งผมได้ทดลองใช้หลายๆ วิธีในการที่จะนำโคลนขึ้นมาจากบ่อที่ลึกประมาณ 6.00 เมตรนี้ ปรากฏว่าทำให้เสียเวลามาก จะใช้สายพานลำเลียงก็ทำไม่ได้ เพราะดินมีสภาพเป็นเลนไหลกลับลงไปหมด

สุดท้าย . . . ผมนึกถึง ก า ร์ ตู น ชุ ด ซุ ป เ ป อ ร์ แ ม น ได้ เลยลองเลียนแบบดู คือ ใช้วิธีเอาปูนซีเมนต์ลงไปคลุกกับโคลนในปริมาณ 6?10% ปรากฏว่าได้ผลครับ… โคลนกลายเป็นดินซีเมนต์แข็งพอควร จากนั้นจึงนำขึ้นจากบ่อที่ขุดได้โดยไม่ยาก ในทางวิชาการก็คือ การทำดินซีเมนต์ แต่ปริมาณน้ำมากไปหน่อยนั่นเอง . .

The post ตอนที่ 22 – ขอบคุณซุปเปอร์แมน appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 30 – โลกของคนโวย https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-3-%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a7%e0%b8%a2?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-3-%25e0%25b9%2582%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%2581%25e0%25b8%2582%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%2584%25e0%25b8%2599%25e0%25b9%2582%25e0%25b8%25a7%25e0%25b8%25a2 Wed, 27 Feb 2019 13:23:41 +0000 https://pps.co.th?p=8187 The post ตอนที่ 30 – โลกของคนโวย appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 30 – โลกของคนโวย


หลังยุคฟองสบู่แตก เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2540 ผมได้ประสบการณ์อันเจ็บปวดเพิ่มขึ้นมาก ลูกค้าคนที่เคยคบกันดีๆ กลับมีอันหาเรื่องไม่จ่ายค่าบริการเอาดื้อๆ บางคนหาเรื่องติงานเพื่อจะได้ไม่ต้องชำระค่าบริการ บางคนก็บอกฝากคนอื่นมาว่า ผมได้มามากแล้ว…? แต่หลายคนก็ดีใจหายบอกสถานการณ์ที่ตรงไปตรงมาแบบสุภาพบุรุษที่มีศักดิ์ศรี บางคนขอชำระเพียงบางส่วน บางคนขอผ่อนชำระ ซึ่งผมขอคารวะบุคคลเหล่านี้ อยากจะเอ่ยนามให้ปรากฏเป็นตัวอย่าง แต่คิดว่าท่านเหล่านั้นคงไม่มีความประสงค์เช่นนั้น เงินที่ถูกโกงไปโดยที่เจ้าของงานไม่ยอมจ่ายนั้น ถ้าคิดเป็นจำนวนเงินก็ไม่น้อย ก็คงจะต้องคิดในแง่ดีว่าเป็นเรื่องของบุญกรรม แต่บุคคลเช่นว่านี้ เขาจ่ายให้เฉพาะคนที่ไปโวยวายจะเอาเรื่องเท่านั้นเรื่องของการโวยนี้ ฝรั่งเขาถือว่า เป็นการรักษาสิทธิ์อันพึงมีของเรา …

เมื่อครั้งผมที่ไปเยี่ยมลูกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเดินทางไปกับบริษัทการบินขนาดใหญ่ของประเทศเขา ปรากฏว่าสายการบินนำกระเป๋าส่งถึงผมช้าไปประมาณ 2 วัน เมื่อผมไปเรียกร้องสิทธิ์ เพราะในระหว่างที่รอกระเป๋าอยู่นั้น ผมก็จำเป็นต้องมีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า จึงต้องไปซื้อเสื้อผ้ามาเปลี่ยน ซึ่งบริษัทการบินแห่งนั้นเขาก็จ่ายค่าเสื้อผ้าให้เท่าที่เราซื้อไปจริง โดยดูจากใบเสร็จรับเงินค่าเสื้อผ้านั้นๆ และเลื่อนชั้นของตั๋วให้สูงขึ้นหนึ่งขั้น เป็นการปลอบขวัญเมื่อตอนเดินทางกลับ

ต่อมาผมเดินทางไปอเมริกาอีกครั้ง คราวนี้ใช้บริการของสายการบินไต้หวัน ปรากฏว่าเครื่องบินออกเดินทางจากสนามบินดอนเมืองล่าช้ากว่ากำหนด 4 ชั่วโมง ทำให้ผมไปต่อเครื่องบินที่ไต้หวัน เพื่อจะบินต่อไปยังสหรัฐอเมริกาไม่ทัน จึงต้องค้างคืนที่ไต้หวัน ซึ่งทางสายการบินเขาให้พักที่โรงแรมและมีอาหารให้ 2 มื้อ แต่ไม่ให้ค่าชดเชยอะไรเลยเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่อาจจะต้องมีการผลัดเปลี่ยน เมื่อผมและผู้โดยสารหลายคนทวงสิทธิ์ในเรื่องเสื้อผ้า เขาก็พาไปเอาเสื้อผ้าที่กระเป๋าของเรา ณ จุดที่เขาเก็บรักษาไว้ ส่วนคนที่ไม่ทวงถามก็ไม่ได้รับการบริการดังกล่าวแต่อย่างใด โลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลยหนอ…

หลังยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตก บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาล้มหายตายจากไปเยอะ แต่บริษัทของผมยังอยู่ได้ เพราะเรามีพนักงานที่มีวิญญาณของนักบริการอย่างแท้จริง เราได้พยายามจัดระบบงานจนได้ใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO9002 และเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยโวย ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ และถือเป็นบุญคุณที่จ้างเราทำงานด้วย เลยทำให้เรามีงานไม่หยุดกระทั่งบัดนี้…

The post ตอนที่ 30 – โลกของคนโวย appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 16 – เรื่อง IC Information & Connection https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-4-ic-information-connection?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-4-ic-information-connection Wed, 27 Feb 2019 13:21:49 +0000 https://pps.co.th?p=8185 The post ตอนที่ 16 – เรื่อง IC Information & Connection appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 16 – IC Information & Connection


หลังยุคฟองสบู่แตก เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2540 ผมได้ประสบการณ์อันเจ็บปวดเพิ่มขึ้นมาก ลูกค้าคนที่เคยคบกันดีๆ กลับมีอันหาเรื่องไม่จ่ายค่าบริการเอาดื้อๆ บางคนหาเรื่องติงานเพื่อจะได้ไม่ต้องชำระค่าบริการ บางคนก็บอกฝากคนอื่นมาว่า ผมได้มามากแล้ว…? แต่หลายคนก็ดีใจหายบอกสถานการณ์ที่ตรงไปตรงมาแบบสุภาพบุรุษที่มีศักดิ์ศรี บางคนขอชำระเพียงบางส่วน บางคนขอผ่อนชำระ ซึ่งผมขอคารวะบุคคลเหล่านี้ อยากจะเอ่ยนามให้ปรากฏเป็นตัวอย่าง แต่คิดว่าท่านเหล่านั้นคงไม่มีความประสงค์เช่นนั้น เงินที่ถูกโกงไปโดยที่เจ้าของงานไม่ยอมจ่ายนั้น ถ้าคิดเป็นจำนวนเงินก็ไม่น้อย ก็คงจะต้องคิดในแง่ดีว่าเป็นเรื่องของบุญกรรม แต่บุคคลเช่นว่านี้ เขาจ่ายให้เฉพาะคนที่ไปโวยวายจะเอาเรื่องเท่านั้นเรื่องของการโวยนี้ ฝรั่งเขาถือว่า เป็นการรักษาสิทธิ์อันพึงมีของเรา …

เมื่อครั้งผมที่ไปเยี่ยมลูกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเดินทางไปกับบริษัทการบินขนาดใหญ่ของประเทศเขา ปรากฏว่าสายการบินนำกระเป๋าส่งถึงผมช้าไปประมาณ 2 วัน เมื่อผมไปเรียกร้องสิทธิ์ เพราะในระหว่างที่รอกระเป๋าอยู่นั้น ผมก็จำเป็นต้องมีการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า จึงต้องไปซื้อเสื้อผ้ามาเปลี่ยน ซึ่งบริษัทการบินแห่งนั้นเขาก็จ่ายค่าเสื้อผ้าให้เท่าที่เราซื้อไปจริง โดยดูจากใบเสร็จรับเงินค่าเสื้อผ้านั้นๆ และเลื่อนชั้นของตั๋วให้สูงขึ้นหนึ่งขั้น เป็นการปลอบขวัญเมื่อตอนเดินทางกลับ

ต่อมาผมเดินทางไปอเมริกาอีกครั้ง คราวนี้ใช้บริการของสายการบินไต้หวัน ปรากฏว่าเครื่องบินออกเดินทางจากสนามบินดอนเมืองล่าช้ากว่ากำหนด 4 ชั่วโมง ทำให้ผมไปต่อเครื่องบินที่ไต้หวัน เพื่อจะบินต่อไปยังสหรัฐอเมริกาไม่ทัน จึงต้องค้างคืนที่ไต้หวัน ซึ่งทางสายการบินเขาให้พักที่โรงแรมและมีอาหารให้ 2 มื้อ แต่ไม่ให้ค่าชดเชยอะไรเลยเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่อาจจะต้องมีการผลัดเปลี่ยน เมื่อผมและผู้โดยสารหลายคนทวงสิทธิ์ในเรื่องเสื้อผ้า เขาก็พาไปเอาเสื้อผ้าที่กระเป๋าของเรา ณ จุดที่เขาเก็บรักษาไว้ ส่วนคนที่ไม่ทวงถามก็ไม่ได้รับการบริการดังกล่าวแต่อย่างใด โลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลยหนอ…

หลังยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตก บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาล้มหายตายจากไปเยอะ แต่บริษัทของผมยังอยู่ได้ เพราะเรามีพนักงานที่มีวิญญาณของนักบริการอย่างแท้จริง เราได้พยายามจัดระบบงานจนได้ใบรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO9002 และเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะลูกค้าที่ไม่เคยโวย ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ และถือเป็นบุญคุณที่จ้างเราทำงานด้วย เลยทำให้เรามีงานไม่หยุดกระทั่งบัดนี้…

The post ตอนที่ 16 – เรื่อง IC Information & Connection appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 31 – มีเวลามากไป ทำอะไรดีครับ? https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-5-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%84%e0%b8%9b-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%ad?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-5-%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a7%25e0%25b8%25a5%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b2%25e0%25b8%2581%25e0%25b9%2584%25e0%25b8%259b-%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b3%25e0%25b8%25ad Wed, 27 Feb 2019 13:20:01 +0000 https://pps.co.th?p=8183 The post ตอนที่ 31 – มีเวลามากไป ทำอะไรดีครับ? appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 31 – มีเวลามากไป ทำอะไรดีครับ?


ที่ผมเขียนเรื่องนี้เป็นเพราะมีเวลาว่างมาก เนื่องจากการที่เครื่องบินที่ผมใช้บริการเพื่อเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแวะเปลี่ยนเครื่องที่ไต้หวันต้องเสียเวลา เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่นเมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นบิลลิส (Billis) พัดเข้าเกาะไต้หวันเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ผ่านไปยังแผ่นดินใหญ่จีนในวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ทำให้มีคนตาย 11 คน บาดเจ็บ 101 คน สูญหาย 3 คน และบ้านเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้กว่าล้านหลังคาเรือน ส่วนผลที่กระทบต่อการเดินทางของผม คือ เครื่องบินที่ออกจากกรุงเทพฯ ไปยังสนามบินเจียงไคเช็คต้องออกเดินทางล่าช้ากว่ากำหนดเดิมถึง 4 ชั่วโมง ทำให้ผมต่อเครื่องบินช่วงต่อไปจากไต้หวันถึงสหรัฐอเมริกาไม่ทัน เป็นเหตุให้ผมต้องพลาดนัดกับลูกชาย ซึ่งได้นัดกันก่อนหน้านี้แล้ว และที่ผมกังวลมาก ก็คือ ผมและลูกชายได้นัดแนะกันแล้วต่างคนต่างก็ออกเดินทาง เพื่อที่จะมาพบกัน ดังนั้นการติดต่อระหว่างกันจึงลำบากมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงการเดินทางทั้ง 2 ฝ่าย

ผมได้ขอให้เจ้าหน้าที่ของสายการบิน… พยายามติดต่อลูกชายของผมและเปลี่ยนการเดินทางให้ผม โดยใช้สายการบินอื่น แต่เจ้าหน้าที่ของสายการบินที่ว่านี้ที่ประจำอยู่กรุงเทพฯ แจ้งว่าให้ผมเดินทางไปที่ไต้หวันก่อนแล้วหน่วยงานที่ไต้หวันจะจัดการเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางให้ และจะโทรศัพท์ไปบอกลูกชายของผมให้ตามที่เราแจ้งข้อมูลไว้ ผมจึงวางใจไม่ได้ไปเซ้าซี้อะไรเขามากนัก เพราะก็เห็นใจว่าเขามีปัญหามากมายที่จะต้องแก้ไขอยู่แล้ว แต่ผลปรากฏว่าเขาไม่ได้ทำตามที่บอกเรา ซึ่งผมมาทราบภายหลังว่าเขาทำให้เฉพาะบางคนที่โวยวายเสียงดังเท่านั้นนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมพบเหตุการณ์แบบนี้ การเดินทางไกลต้องเตรียมตัวให้พร้อมกว่านี้ คือ ควรมีชุดสำรองสัก 1 ชุด รวมทั้งเครื่องใช้ประจำวันเก็บไว้ในกระเป๋าที่เราถือติดตัว (Hand Bag) และนำขึ้นเครื่องไปพร้อมกับตัวเราด้วย และยิ่งถ้ามีโรคประจำตัว ก็ควรจะแบ่งยามาเก็บไว้ในกระเป๋าถือนี้ด้วย ของผมมีแค่เครื่องใช้ประจำวันเท่านั้น เพราะชะล่าใจเกินไป แต่หลังจากที่ผมโวยวายขอเสื้อผ้ามาสำหรับผลัดเปลี่ยน เพราะต้องอยู่ค้างคืนที่ไต้หวัน เจ้าหน้าที่ก็พาไปเอาเสื้อผ้าจากกระเป๋าใหญ่ได้ เลยรอดตัวไป

ผมใช้เวลาเดินดูรอบๆ บริเวณโรงแรมที่พักเพื่อหาข้อมูลและความรู้มาเขียนหนังสือ เพราะคิดว่าโวยวายไปอีกก็ไม่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้ข้อมูลอะไรมากนัก เพราะโรงแรมที่เขาให้พักเป็นโรงแรมสนามบิน ซึ่งมีไว้เฉพาะการนี้โดยตรง จึงไม่ค่อยมีอะไรให้ดูมาก ร้านขายของก็ไม่มีมีแต่เครื่องหยอดเหรียญอ้อ !… ผมลืมบอกไปว่า ทางสายการบินเขายึดพาสปอร์ตของเราไปเก็บไว้ด้วย เนื่องจากเราไม่มีวีซ่าขอเข้าไต้หวัน เขาจึงกลัวว่าเราหนีไปเที่ยวในเมือง จึงทำให้เราไปไหนไม่ได้ แต่ยังดีหน่อยที่เขาให้เราสามารถโทรศัพท์ไปต่างประเทศได้ฟรี 3 นาที ผมจึงพอโทร. ติดต่อฝากข้อความไว้ที่จุดกลาง เพื่อให้พวกที่นัดกันไว้ติดต่อสอบถามว่าขณะนั้นเราอยู่ไหนได้ และที่โรงแรมก็ไม่มีบริการ Internet ด้วย ซึ่งถ้ามีก็จะดีมาก เพราะเราสามารถทิ้งข้อความฝากไว้ใน Mail Box ได้ เพื่อนๆ และญาติ ก็จะสามารถติดต่อหาข้อมูลของเราได้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้ผมเห็นว่าเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด…

เวลาที่มีมากไปนี้ผมก็เลยใช้เขียนหนังสือ ?ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ง า น ช่ า ง? ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 6 แต่คงจะจืดไปสักหน่อย เพราะอารมณ์มันจืดครับ..

The post ตอนที่ 31 – มีเวลามากไป ทำอะไรดีครับ? appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>
ตอนที่ 25 – เจ้าเมืองปัญญาอ่อน? https://pps.co.th/uncategorized/%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-6-%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=%25e0%25b8%2595%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2599%25e0%25b8%2597%25e0%25b8%25b5%25e0%25b9%2588-6-%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%2588%25e0%25b9%2589%25e0%25b8%25b2%25e0%25b9%2580%25e0%25b8%25a1%25e0%25b8%25b7%25e0%25b8%25ad%25e0%25b8%2587%25e0%25b8%259b%25e0%25b8%25b1%25e0%25b8%258d%25e0%25b8%258d%25e0%25b8%25b2 Wed, 27 Feb 2019 13:18:27 +0000 https://pps.co.th?p=8180 The post ตอนที่ 25 – เจ้าเมืองปัญญาอ่อน? appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>

ตอนที่ 25 – เจ้าเมืองปัญญาอ่อน?


ผมเคยเล่าในเรื่องก่อนๆ แล้วว่า งานก่อสร้างของ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม มีการแยกสัญญาจ้างมากที่สุดและเป็นงานที่เริ่มระบบการบริหารแบบใช้ CM for fee เป็นยุคแรกๆ กล่าวคือ วิศวกรที่ปรึกษาทำหน้าที่ทั้งผู้ควบคุมการก่อสร้างและผู้จัดการงานก่อสร้าง ไปด้วยพร้อมๆ กัน โดยเป็นคนละกลุ่มกับผู้ออกแบบ ถ้าให้แยกสัญญาหมด และเจ้าของซื้อของเองด้วย เจ้าของก็เป็นผู้รับเหมาใหญ่เสียเองนั่นแหละครับ…

สัญญาจ้างยุคแรกๆ ที่จัดระบบแบบนี้ ยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไรนัก ในสัญญาที่ว่านี้จะระบุให้ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารเป็นผู้ประสานงานเท่านั้น ไม่ได้มีการระบุความหมาย ขอบเขต และหน้าที่ของการประสานงานไว้อย่างชัดเจนเช่นสัญญาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตารางหน้าที่ในการประสานงานนั้น ผมได้เขียนขึ้นเมื่อครั้งเป็นวิศวกรที่ปรึกษาของอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท สยามกลการ จำกัด ที่ถนนพระราม 1 และปัจจุบันได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้พิมพ์เผยแพร่ในเอกสารวิชาการของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แล้วด้วย

เมื่อไม่มีการระบุขอบเขตและหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ก็เกิดปัญหาขึ้นมากมายว่า อะไรคือ การประสานงาน อะไรคือการทำงาน และค่าใช้จ่ายในการประสานงานนั้นผู้รับเหมาอาคารจะคิดเอากับใคร คือ ใครเป็นผู้จ่ายนั่นเอง ซึ่งถ้าระบุไว้ตั้งแต่แรก ผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารก็รู้แต่แรกแล้วว่า ต้องทำอะไรบ้าง จึงคิดราคาไว้ถูกต้อง และไม่ต้องมาเสียเวลาโต้เถียงกันระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งอาจจะทำให้งานต้องล่าช้าได้

ดังได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า ในโครงการดังกล่าวขอบเขตของการประสานงานไม่ชัดเจน จึงทำให้มีปัญหามาก เมื่อถึงคราวที่จะต้องตกแต่งชั้นที่ผู้ใหญ่ทำงาน ก็มีผู้รับเหมาตกแต่งภายในเข้ามาอีก ปัญหาก็ยิ่งเพิ่มขึ้น วันหนึ่งได้มีการถกเถียงกันเรื่องลำดับขั้นการทำงานก่อนหลังและไม่สามารถตกลงกันได้ หัวหน้าพิพัฒน์ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของโครงการก็เลยให้จัดประชุมใหญ่ โดยให้ผมเป็นผู้ดำเนินการประชุม ซึ่งได้กำหนดหัวข้อการประชุมอยู่เพียงหัวข้อเดียวว่า จะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรเท่านั้น

ระหว่างรอการประชุมให้ครบองค์ หัวหน้าให้ผมหาเรื่องมาเล่าเพื่อฆ่าเวลาไปพลางๆ ก่อน ผมก็เล่าเรื่องหนังจีนที่มีพระเอกชื่อ จางจินเป่า ซึ่งฮิตมากในขณะนั้น เรื่องก็มีอยู่ว่า ทหารคนสนิทของเจ้าเมืองเมืองหนึ่งมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน แล้วตกลงกันไม่ได้ เจ้าเมืองก็ตัดสินแบบปัญญาอ่อน โดยให้คนสนิททั้ง 2 ฝ่าย เอาหมามากัดกัน หมาของใครชนะก็เอาความเห็นของคนนั้นเป็นข้อยุติ ก็เป็นการแก้ปัญหาแบบง่ายๆ แต่ได้ผลดี การแก้ปัญหาแบบนี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับทุกครั้ง เพราะทหารบางคนไม่ได้เลี้ยงหมา หรือบางคนหมาของตนก็ไม่เก่ง เลยต้องหันมาใช้การกัดจิ้งหรีดแทนในบางครั้ง…

พอผมเล่าจบ ก็พอดีครบองค์ประชุม หัวหน้าพิพัฒน์จึงถามความเห็นของที่ประชุมว่า เรื่องที่จะประชุมกันนี้ จะเอาหมาหรือจิ้งหรีดดีครับ…? ผู้เข้าประชุมต่างมองหน้ากันอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็ตกลงกันว่าไม่ต้องประชุม เพราะทุกคนเข้าใจกันดีแล้ว ที่ประชุมเลยมีมติให้คุณประสงค์… เป็นหัวหน้าสั่งการได้เลย

ผมเลยต้องใช้วิชาที่เคยเป็นผู้รับเหมาอาคารมาก่อนจัดการ โดยปรับให้ทุกคนมีทัศนคติตรงกันก่อนว่า ได้ลงเรือลำเดียวกัน… เท่านั้นเรื่องก็จบลงด้วยดีครับ…

หลังจากเสร็จงานแล้ว ยังมีการทำโล่ที่ระลึกแจกกันคนละอันด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายของแต่ละส่วนงานแล้ว ยังเหลือเงินบริจาคให้มูลนิธิการกุศลอีกด้วยครับ…

The post ตอนที่ 25 – เจ้าเมืองปัญญาอ่อน? appeared first on Leading Professional Engineering Services in Thailand | PPS Group PLC.

]]>