Skip to main content

สลิปฟอร์ม (SLIPFORM)


Slip Form เป็นระบบการเลื่อนคอนกรีตชนิดหนึ่งที่ใช้แบบเหล็กเป็นแบบหล่อคอนกรีตและสามารถเลื่อนตัวขึ้นไปในแนวดิ่งได้ หลังจากคอนกรีตเริ่ม Set ตัว โดยใช้ Hydraulic Tack เป็นตัวขับดันขึ้นไปเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการเทคอนกรีตและผูกเหล็กเสริมไปพร้อมกัน ในอัตราความเร็ว 30 cm/hr โดยประมาณ

 

ส่วนประกอบของแบบหล่อคอนกรีตชนิดแบบเลื่อน (Slip Form) แนวดิ่ง

 

ชิ้นส่วนประกอบด้วย : แผ่นผิว, คานรองรับ, โครงยก, ชานชาลาทํางาน, นั่งร้านแขวน และระบบแจ็ค (หรือไฮโดรลิค) ซึ่งมีหน้าที่หลักแต่ละชิ้นส่วน ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

– แผ่นผิว

ปัจจุบันนิยมใช้แผ่นผิวเหล็ก เพราะสามารถนําไปใช้งานซ้ํา ๆ ได้หลายครั้ง แต่ต้องใช้เหล็กที่มีความหนาทนต่อแรงกระแทกจากการจี้คอนกรีต ซึ่งแผ่นผิวจะรับแรงดันของคอนกรีตเหลว โดยจะมีคานตามแนวนอนใกล้ๆ ขอบบนและล่างของแบบหล่อ ซึ่งจะทําหน้าที่รองรับแรงที่ถ่ายจากแผ่นผิวและเป็นส่วนยึดกับโครงยกเพื่อเลื่อนแบบหล่อ ความสูงของแบบหล่อโดยทั่วไป นิยมใช้ความสูงประมาณ 1.00 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการเทคอนกรีตของแต่ละงาน

 

– คานรองรับ

ในกรณีที่เป็นเหล็ก จะต้องมีขนาดเดียวกัน หน้าที่ของคานรองรับ ก็คือ รับแรงดันของคอนกรีตเหลวที่ถ่ายจากแผ่นผิวและจะใช้เป้นที่แขวน หรือยึดนั่งร้านในการทํางาน อีกทั้งจะทําหน้าที่ยึดกับโครงยก เพื่อเลื่อนแบบหล่อคอนกรีตทั้งชุดขึ้นพร้อม ๆ กัน ในการออกแบบคานรองรับ จะต้องพิจารณาถึงแรงดึงจากการเลื่อนตัวของแบบและน้ำหนักของนั่งร้าน ซึ่งต้องถ่ายน้ำหนักในแนวดิ่ง จะขึ้นกับระบบแจ็ค (ไฮโดรลิค) เพื่อเลื่อนแบบ และระบบการทํางาน

 

– โครงยก

มีลักษณะเป็นโครงเฟรม ประกอบด้วยคานขวางเชื่อมต่อกับระบบแจ็ค (ไฮโดรลิค) ที่ยกแบบหล่อ และที่ปลายคานยกทั้งสองข้างจะเป็นโครงยื่นเป็นขาลงมาเชื่อมยึดกับคานรองรับผิว ซึ่งมีหน้าที่หลักเพื่อรับแรงทางข้างของคอนกรีตเหลว โครงยกคานรองรับในบางกรณีออกแบบร่วมกัน

 

ขั้นตอนการทํางานของ Slip Form

 1. ออกแบบ Slip Form และ คํานวณ Mix design Concert พร้อม Pump Concert ให้เหมาะสมกับอาคารก่อสร้าง

 2. ปรับสภาพพื้นที่หน้างานก่อสร้างให้พร้อมที่จะดําเนินการ

 3. ประกอบโครง Slip Form โดยรอบพื้นที่ตอม่อที่จะเทคอนกรีต ทั้งสองตอม่อที่อยู่ติดกัน

 4. ประกอบคานโครงเหล็กยึดระหว่างโครง Slip Form ทั้งสองตอม่อ

 5. ประกอบปัดแบบหล่อด้านข้างสูง 1.00 ม.

 6. ประกอบคานยึดปากแบบ และคล่อมพื้นที่ที่จะเทคอนกรีตเป็นช่วง ๆ ระยะห่างไม่เกินช่วงละ 2.00 ม.

 7. ติดตั้งกระบอกไฮโดรลิค กับคานยึดคล่อมปากแบบ โดยติดตั้งคานละ 2 ตัว พร้อมใส่เหล็กผ่านแกนกระบอกไฮโดรลิค เพื่อใช้ค้ำยันแบบในการเลื่อน

 8. ตรวจสอบแนวดิ่งของแกนเหล็กค้ำยัน เพื่อบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของแบบ Slip Formให้อยู่ในแนวดิ่ง

 9. ต่อสายไฮโดรลิก จากระบอกไฮโดรลิคที่ติดตั้งบนคานยึดปากแบบทุกตัวเข้าสู่แม่ปั้มไฮโดรลิคที่ติดตั้งไว้ระหว่างตอม่อที่จะเทคอนกรีตทั้งสอง

 10. การเลื่อนแบบ Slip Form ขึ้นในแนวดิ่งจะอาศัยแม่ปั้มไฮโดรลิคที่ติดตั้งไว้ระหว่างตอม่อ

 

การเทคอนกรีตด้วยแบบ Slip Form

 1. เมื่อประกอบแบบ Slip Form พร้อมตรวจสอบระบบต่าง ๆ แล้วเสร็จเทคอนกรีตลงในแบบ Slip Form ให้ชั้นความหนาของเนื้อคอนกรีตสม่ําเสมอทั่วทั้งแบบโดยให้ความหนาแต่ละชั้นไม่ควรเกิน 25 ซม. แล้วเทวนไปเรื่อย ๆ จนเต็มแบบ Slip Form

 2. หลังจากเริ่มเทคอนกรีตผ่านไป 4 ชั่วโมง จึงทําการเลื่อนแบบหล่อขึ้นทุก ๆ 5 นาที ซึ่งจะเลื่อนขึ้น 2 ซม. ทุก ๆ 5 นาที และเทคอนกรีตต่อเนื่องไป

 3. เลื่อนแบบหล่อพร้อมเทคอนกรีตตามข้อ 2 ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่ต้องการหยุดเทชั่วคราว

 4. เมื่อเทคอนกรีตถึงระดับที่ต้องการหยุดเทชั่วคราว ให้แต่งระดับคอนกรีตให้เสมอกันและค่อย ๆ เคลื่อนแบบ Slip Form เป็น Step ทุก ๆ 5 นาที จนกระทั่งของแบบหล่อด้านล่างอมคอนกรีตประมาณ 60 ซม. จึงหยุด

 5. เมื่อจะทําคอนกรีตตอ ดําเนินการตามข้อ 1 ถึง ข้อ 4 ต่อไปเรื่อยจนแล้วเสร็จความต้องการ

 

การถอดแบบ

เมื่อแบบเลื่อนไดขับเคลื่อนไปถึงระดับสูงสุด แจ็คแม่แรง (ไฮโดรลิค) ที่ยกก็จะหยุดทํางานแต่ยังถอดออกไม้ได้จนกว่าจะให้น้ำหนักของแบบเลื่อนถ่ายลงสู่กําแพงโดยใช้วิธีการฝังหัวน็อตไว้ก่อนที่จะถึงยอด และเมื่อถึงแล้วจึงเอาน็อตตัวผู้ขันเข้าไปในรูน็อตนั้น แล้วปล่อยแจ็ค (ไฮโดรลิค)ให้ทิ้งน้ำหนักลงบนน็อต และถ่ายแรงลงกําแพง หลังจากนั้นจะเริ่มถอดแม่แรงและโครงยกได้ ส่วนแท่นยืนจะต้องใช้เป็นแบบหล่อพื้นเครื่องกว้าน เมื่อพื้นเสร็จก็สามารถถอดนั่งร้านแขวน และแบบแผ่นผิวออกเป็นชิ้น ๆ ได้ การถอดแบบแท่นยืน อาจแยกออกเป็นส่วน ๆ ชิ้นเล็ก ๆ หรือหย่อนลงทั้งชุดก็ย่อมทําได้ แต่ต้องเว้นช่องเพื่อร้อยเชือกหย่อนลงด้วย รอกและปั่นจั่นตามแต่สะดวกเพื่อย้ายไปทํางาน ขึ้นตอนอื่นต่อไป

 

ข้อดีและประโยชน์ของการใช้ Slip Form

 1. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง 

 – สามารถลดระยะเวลาก่อสร้าง

 – ลดระยะเวลาในการติดตั้งแบบน้อยกว่าแบบทั่วไป

 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย

 – ลดค่าแรงงานและงบประมาณ

 – ใช้งานได้หลายครั้ง

 3. ลดลอยต่อของกําแพง

 – สามารถเทคอนกรีตได้ต่อเนื่องโดยเฉพาะงานประเภทตอม่อ หรืออาคารที่มีความสูงต่อชิ้นมากกว่าปกติ

 4. เหมาะสมกบงานที่มีปริมาณงานมากๆ 

 

ข้อเสียของการใช้ Slip Form

 1. ต้องใช้บุคลที่มีความรู้, ความชํานาญ และประสบการณ์ เฉพาะด้าน เข้ามาควบคุมงาน

 2. ใช้ได้เฉพาะงานที่มีรูปร่างแบบเดียวกัน

 3. ไม่เหมาะสมกับงานที่มีปริมาณงานน้อย