ตอนที่ 15 – ภาษากับงานช่างตอนที่ 2
การติดต่อสื่อสารกันในหน่วยงานก่อสร้าง เป็นสิ่งจำเป็นในเรื่องที่เป็นกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น การตรวจเหล็ก การตรวจแบบ การตรวจแบบหล่อก่อนเทคอนกรีต เป็นต้น ในการสั่งงานส่วนมากมักจะสั่งกันด้วย วาจา ซึ่งฝรั่ง เรียกว่า Verbal Order ไม่ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญนั้น หากสั่งกันด้วยวาจาแล้ว ในทางสัญญาจะไม่ถือว่าเป็นคำสั่ง ( อาจหมายถึง คำบ่น มากกว่า ) เมื่อตอนที่ผมทำงานกับ OICC ( Officer In Change of Construction ) เขาจะมีแบบฟอร์มสำหรับสั่งการในสนามไว้ให้ผู้ตรวจงาน บันทึกแบบฟอร์มนี้ เรียกว่า AVO ซึ่งมาจากคำเต็ม ๆ ว่า Avoid Verbal Order บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาของไทยทั่ว ๆ ไป ได้นำวัฒนธรรมการสั่งการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรนี้มาใช้ โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของฝรั่งที่ทำไว้ให้ในตำราหลาย ๆ เล่ม แล้วคนไทยก็นำมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งก็ช่วยประหยัดเวลาและขจัดปัญหาได้ดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาเถียงกันว่า มีการสั่งการกันแล้วหรือไม่
รูปแบบของแบบฟอร์มดังกล่าว อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท สำหรับแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ว่านี้ ฝรั่งมีการพิมพ์รวมเล่มไว้ขาย ซึ่งของคนไทยเราก็มีตัวอย่างจากหนังสือวิชาการที่จัดทำ โดย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ( ว.ส.ท. ) ทางบริษัท ก็มีการออกแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ว่านี้ในรูปของการบันทึกสั่งการ หรือ MEMO ซึ่งไม่เน้นความสำคัญเหมือนจดหมายสำหรับบุคลากร ที่จะเป็นผู้ลงนามในบันทึกสั่งการนี้ อาจจะเป็นช่างเทคนิคหน้างาน หรือวิศวกรสนามก็ได้ แล้วแต่จะได้รับมอบหมายเรื่องที่จะใช้ ก็เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป นาน ๆ จึงจะมีการออกเป็นจดหมายสักฉบับ เพื่อให้จดหมายมีความสำคัญ ผู้ลงนามในบันทึกหรือจดหมายซึ่งขอเรียกรวมกันว่า เอกสาร.. ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้อความ ที่บรรจุไว้ในเอกสารนั้น เมื่อผู้รับเห็นชื่อผู้ที่ลงนาม ก็จะทราบระดับความสำคัญของเอกสารนั้นทันที และเมื่อดูรูปแบบที่ส่งมาก็เหมือนกัน ความสำคัญจะปรากฎไว้อย่างชัดเจนว่า เอกสารที่ส่งมานี้ ใครเป็นผู้ลงนาม และเอกสารถูกส่งมาโดยวิธีใด ซึ่งถ้าเขียนกันบ่อย ๆ ไม่ได้ผล บางครั้ง ก็มีการเขียนไปฟ้องผู้ใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่ก็มี อ ย่ า ลื ม ใ ช้ ใ ห้ ถู ก ต้ อ ง ด้ ว ย น ะ ค รั บ .. . .. . …….