Skip to main content

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง 3


เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วย เขตก่อสร้าง (10 กันยายน 2528)

– ให้จัดทำรั้วหรือคอกกั้น และปิดประกาศแสดงเขตก่อสร้าง

– ให้กำหนดเขตอันตราย และห้ามลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าเขตนั้น

– ให้แจ้ง และปิดประกาศ และห้ามลูกจ้างพักอาศัยในอาคารที่กำลังก่อสร้างเขตอันตราย

– จัดทำรั้ว หรือคอกกั้น หรือแผงกั้นกันของตก

– ปิดประกาศ “เขตอันตราย”

– เวลากลางคืนติดสัญญาณไฟสีแดง

เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วย ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว (29 มกราคม 2524)

– ลิฟท์สูงเกิน 9 ม. ต้องออกแบบโดยวิศวกร

– กรณีติดตั้งภายในหอ ต้องจัดทำรั้วหรือตาข่ายสูง 2 ม. โดยรอบเว้นทางเข้าออก

– กรณีติดตั้งภายในปล่อง ต้องจัดทำรั้วสูง 2 ม. โดยรอบเว้นทางเข้าออก

– ทางเดิมเชื่อมลิฟท์กับสิ่งก่อสร้างต้องมีราวกันตก ขอบกันของตก และไม้ขวาง

– ก่อนการใช้งาน ต้องตรวจจับรองโดยวิศวกรและเก็บเอกสารดังกล่าวไว้

– ห้ามใช้ลิฟท์สายพานการออกแบบลิฟท์ มีรายละเอียดดังนี้

– หอลิฟท์ รับ น.น. 2 เท่าของ น.น. ใช้งาน

– คานติดตั้งรอกและฐานรองรับคาน มีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5

– หอที่สร้างด้วยไม้ แรงดัดประลัยไม่น้อยกว่า 800 กก. / ตร.ซม. และส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่า 8

– ฐาน รับ น.น. ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของ น.น.ใช้งาน

– หอที่สร้างด้วยเหล็ก จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ก.ก./ ตร. ซม. และส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2

– ตัวลิฟท์ รับ น.น. ไม่น้อยกว่า 5 เท่าของ น.น. ใช้งาน

– มีการยึดโยง ค้ำยัน หรือตรึงให้มั่นคงการใช้ลิฟท์

– คนบังคับลิฟท์ต้องผ่านการอบรม- มีข้อบังคับการใช้ลิฟท์

– ตรวจสอบก่อนการใช้งานทุกวัน

– ติดป้ายบอกพิกัด

– ดูแลมิให้วัสดุตก

– หากวัสดุมีล้อ ต้องป้องกันมิให้เคลื่อนที่