กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง 4
เรื่อง “ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน” (30 มิถุนายน 2525)
– ทำงานสูงเกิน 2 ม. ต้องจัดให้มีนั่งร้าน
– นั่งร้านต้องออกแบบโดยวิศวกร
– ให้จัดทำรั้วหรือคอกกั้น และปิดประกาศแสดงเขตก่อสร้าง
– ให้กำหนดเขตอันตราย และห้ามลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าเขตนั้น
– ให้แจ้ง และปิดประกาศ และห้ามลูกจ้างพักอาศัยในอาคารที่กำลังก่อสร้างเขตอันตราย
– จัดทำรั้ว หรือคอกกั้น หรือแผงกั้นกันของตก
– ปิดประกาศ “เขตอันตราย”
– เวลากลางคืนติดสัญญาณไฟสีแดงการออกแบบนั่งร้าน
– ไม้มีหน่วยแรงดัดประลัยไม่น้อยกว่า 500 ก.ก./ ตร.ซม. ส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4
– เหล็ก มีจุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ก.ก. / ตร.ซม.ส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2
– นั่งร้าน รับ น.น. ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของ น.น. ใช้งาน
– ฐานรองรับนั่งร้าน น.น. ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของ น.น. ใช้งาน
– มีราวกันตก 90-110 ซ.ม.
– พื้นปูติดต่อกันและ กว้าง ไม่น้อยกว่า 35 ซ.ม.
– มีบันไดลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา
– เผื่อ น.น. ผ้าใบ ตาข่าย และอื่นๆ
– ยึดโยง ค้ำยัน อย่างมั่นคงการสร้าง
– ห้ามยึดโยงกับหอลิฟท์
– ปิดคลุมด้วยผ้าใบ หรือตาข่าย โดยรอบนั่งร้าน
– เหนือช่องทางเดิน ต้องปิดคลุมด้วยผ้าใบ หรือตาข่าย
– ต้องติดตั้งด้วยความมั่นคง แข็งแรงการใช้
– ตรวจสอบ หากลื่น ชำรุด ห้ามลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน
– กรณีใกล้สายไฟฟ้าต้องหุ้มฉนวน หรือมีระยะห่างอย่างน้อย 2.40 ม.
– กรณีทำงานหลายชั้นพร้อมกัน ต้องมีสิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ทำงานชั้นล่าง
– ห้ามทำงานขณะมีพายุเรื่อง
“ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม” (21 ธันวาคม 2531)
ข้อกำหนดทั่วไปในการตอกเสาเข็ม
– จัดทำเขตก่อสร้าง
– ปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะของบริษัทผู้ผลิต
– ก่อนการตอก ต้องตรวจอุปกรณ์โดยผู้ควบคุมงาน
– จัดให้มีคู่มือการตอก
– มีป้ายบอกพิกัด น.น.
– กรณีทำการตอกใกล้สายไฟฟ้า ต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัย
– กรณีทำงานกลางคืนต้องมีแสงสว่างเพียงพอความปลอดภัยในการตอก
– มีผู้ควบคุมงาน ภายใต้การดูแลของวิศวกร
– คนบังคับเครื่องตอก ต้องผ่านการอบรมหรือเป็น ผู้ชำนาญการ
– มีผู้ให้สัญญาณ- พื้นรองรับเครื่องตอกต้องมั่นคง
– ห้ามทำงานขณะมีพายุ
– เปลี่ยนครอบหัวเสาเข็มเมื่อลูกตุ้มหยุดทำงาน หรือลูกจ้าง อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย
– เสาเข็มที่มีรูกลวงเกิน 15 ซ.ม. ต้องกลบหรือปิดเรื่อง “ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น” (17 เมษายน 2530)สาระสำคัญ
– ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะของบริษัทผู้ผลิต
– มีคู่มือปฏิบัติงานเป็นภาษาไทย
– ฐานปั้นจั่นต้องมีความมั่นคงแข็งแรง
– ติดป้ายบอกพิกัด น.น.ยก
– ทำเครื่องหมายแสดงเขตอันตราย
– ทางเดินบนปั้นจั่นต้องไม่ลื่นและปลอดภัย
– ติดตั้งเครื่องดับเพลิงในห้องบังคับ
– ปั้นจั่นสูงเกิน 3 เมตร บันไดต้องมีราวจับและโกร่งหลัง
– กรณีทำงานตอนกลางคืนต้องมีแสงสว่างเพียงพอ
– มีผู้ให้สัญญาณประกอบการยก
– กรณีใช้งานใกล้สายไฟฟ้า ต้องมีระยะห่างที่ปลอดภัย
– มีการตรวจสอบปั้นจั่นทุกๆ 3 เดือน
– ห้ามใช้เชือกลวดเหล็กกล้า ที่ชำรุด
– ห้ามดัดแปลงหรือแก้ไขที่ทำให้ความปลอดภัยน้อยลงกรณีติดตั้งบนแพเรือ หรือพาหนะลอยน้ำ
– ยึดให้มั่นคงโดยมีวิศวกรเป็นผู้รับรอง
– เปลี่ยนป้ายพิกัดน้ำหนัก ให้ปลอดภัยและไม่เกินระวางบรรทุกเต็มที่ของแพ เรือ หรือพาหนะนั้น