ตอนที่ 21 – ขบวนการดึง (ขา) กางเกง
สำนวนไทยสำนวนหนึ่งที่ต้องการจะกล่าวถึงการกระทำ ซึ่งใครสักคนทำให้งานล่าช้า ท่านว่า ผู้นั้นกระทำการ? ดึงขากางเกง? ซึ่งฟังดูออกจะลูกทุ่งหน่อย แต่ให้ความหมายได้ชัดเจนที่ไม่ต้องอธิบายความกันมาก และถ้าทำกันหลายคนเป็นขบวนการก็น่าจะเรียกว่า? ขบวนการดึงขากางเกง? ได้ใช่ไหมครับ? อ้อ!? ห้ามตอบว่า ?ไม่ใช่?? เพราะจะทำให้คนเขียนจะเสียกำลังใจ และถ้าตอบอย่างนั้นก็ไม่ต้องอ่านต่อแล้วละครับ
ขบวนการนี้เป็นขบวนการที่คนอื่นเป็นผู้กระทำ แต่ถ้าผู้ที่มีหน้าที่ทำงานนั้นเป็นผู้ทำเสียเอง ท่านถือเป็นกระบวนการหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ วิธีการที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปจนน่าเบื่อก็คือ การตั้งคณะกรรมการศึกษาหาข้อมูล ข้อเท็จจริง อะไรประเภทนี้ คณะกรรมการก็ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาหลายๆ คณะ แล้วคณะอนุกรรมการก็ตั้งคณะทำงานต่ออีกหลายๆ คณะ เพื่อให้กระบวนการตัดสินใจยืดเวลาออกไปอีกเป็นการซื้อเวลา เวลาทั้งหมดที่เสียไปจากการกระทำนี้ทำให้บ่อยครั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นได้คลี่คลายตัวเองลงไป จนแก้ปัญหานั้นๆ ได้ง่ายขึ้น หรืออาจจะไม่ต้องแก้ปัญหานั้นเลยก็ได้?
โครงการขนาดใหญ่หลายๆ โครงการของประเทศไทยที่ทำกันอย่างล่าช้า เช่น โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง โครงการก่อสร้างสนามบินหนองงูเห่า โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งผู้เขียนได้ฟังและได้รับรู้ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตคณะวิศวฯ โครงการเหล่านี้บางโครงการ เช่น ท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังใช้เวลาตัดสินใจเริ่มสร้างเมื่อผู้เขียนสำเร็จการศึกษามาแล้วกว่า 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินเริ่มสร้างเมื่อผู้เขียนสำเร็จการศึกษามาแล้วประมาณ 30 ปี เป็นต้น ก่อนที่จะเริ่มลงมือก็จะมีคณะกรรมการศึกษาแล้วศึกษาอีก เขาเรียกกันว่า ?ทบทวน? เพื่อให้เกิดความชัดเจนและละเอียดรอบคอบ
โครงการทุกโครงการต้องเริ่มจากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อน มีเรื่องเล่ากันว่า? โครงการใดที่ประเทศไทย ศึกษาว่าเป็นไปได้แล้วยังไม่ได้เริ่มลงมือสร้าง ผู้นำของประเทศสิงคโปร์จะนำโครงการเหล่านั้นไปสร้างทันทีทุกโครงการ จนบัดนี้ประเทศของเขาเจริญรุ่งเรืองกว่าเราตั้งมาก มีบางโครงการที่ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ของเขาเป็นคนไทย เช่น โครงการก่อสร้างสนามบินสิงคโปร์ ซึ่งเป็นคนไทยจบจาก A.I.T. รุ่นเดียวกับผู้เขียน แต่ขณะนี้ได้แปลงสัญชาติเป็นชาวสิงคโปร์ไปเรียบร้อยแล้ว
Professor Druckler ปรมาจารย์ทางการบริหารสอนว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่นักบริหารจะต้องมีเพื่อให้เกิดความสำเร็จ มีอยู่สองพยางค์ คือ Good Decision คือ การตัดสินใจที่ดี นักบริหารจะตัดสินใจได้ดี เป็นผลมาจาก คำๆ เดียว คือ Experience (ประสบการณ์) และการที่จะได้ประสบการณ์ที่ดีก็อาจต้องผ่านการกระทำสองพยางค์นี้เสียก่อน นั่นคือ Bad Decision ซึ่งหมายถึง การตัดสินใจที่ผิดครับ? การตัดสินใจที่ผิดอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่ท่านได้สอนว่า ผิดไม่เป็นไร แต่ต้องใช้ความผิดนั้นให้เป็นประโยชน์ และไม่ทำผิดซ้ำอีกจนเป็นความผิดซ้ำซาก ซึ่งตรงกับสุภาษิตไทยว่า? ผิดเป็นครู? นักบริหารที่ไปเรียนวิชาบริหารกันมาก็ไปเรียนกรณีศึกษา ซึ่งส่วนมากเป็นการเรียนรู้ความผิดพลาดของคนอื่นทั้งนั้นครับ?