ตอนที่ 17 – เปิดงานอย่างไรปลอดภัย 100%
องค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ ได้กำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีให้เป็นวัน ” วั น ง ด สู บ บุ ห รี่ โ ล ก ” ประเทศไทยก็ได้เป็นสมาชิกขององค์การนี้ด้วยและได้เข้าร่วมในโครงการรณรงค์ให้ประชาชนงดสูบบุหรี่ เช่นเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2542 สมาคมหรือชมรมผู้ต่อต้านการสูบบุหรี่แห่งประเทศไทย หรือชื่ออะไรทำนองนี้ ผมต้องขออภัยที่จำชื่อไม่ได้.. ได้จัดงานรณรงค์งดสูบบุหรี่ขึ้นที่ลาน SCB PARK PLAZA ถนนรัชโยธิน จัดว่าเป็นงานที่ใหญ่โตมาก มีท่านผู้มีเกียรติมาร่วมงานมากมาย รวมทั้งดารา นักร้อง และนักแสดงต่าง ๆ ด้วย โดยสมาคมได้เชิญคุณพยงค์ มุกดา ครูเพลงอาวุโส ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ให้เป็นประธานในพิธี ในการเปิดงานนั้น ฝ่ายจัดงานได้วางแผนกันไว้วาให้มีการจำลองบุหรี่ขนาดใหญ่ไว้หน้าเวที เมื่อถึงเวลาเปิดงาน ให้ประธานใช้ดาบฟันลงไปที่แท่งบุหรี่จำลองนี้ เมื่อแท่งบุหรี่ขาดลูกโป่งหลากสีที่บรรจุอยู่ภายในมวนบุหรี่จำลองนี้ ก็จะพากันลอยขึ้นท้องฟ้าไปอย่างสวยงาม สำหรับโครงสร้างของบุหรี่ยักษ์ความยาวประมาณ 7 เมตรนี้เป็นโครงเหล็กซึ่งภายในบรรจุลูกโป่งสวรรค์ หลากสีไว้อยางที่กล่าวแล้วข้างต้น ส่วนภายนอกก็หุ้มด้วยวัสดุที่ผมไม่แน่ใจว่าเป็นกระดาษหรือผ้าที่มีสีสันเหมือน กระดาษบุหรี่ เมื่อถึงเวลาเปิดงานก็เกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นคือ หลังจากที่ประธานกล่าวเปิดงานและทำพิธีประหารบุหรี่ โดยใช้ดาบฟังลงบนแท่งบุหรี่ยักษ์ เพื่อตัดมวนบุหรี่ ให้ขาดออกจากกันทันใดนั้นเองก็เกิดเสียงระเบิดดังขึ้นที่มวนบุหรี่ และเกิดไฟลุกพรึบขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ร่วมงานที่อยู่ใกล้ชิดที่เกิดเหตุต้องประสบอันตรายจากการถูกไฟลวก มากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่ความใกล้ชิด กับเหตุการณ์ ซึ่งผู้โชคร้ายหลายท่าน ก็เป็นดารานักแสดง อาทิ คุณทัดทรวง มณีจันทร์ คุณสมบัติ เมทะนี เป็นต้นแต่ผู้โชคร้ายมากที่สุดเห็นจะไม่มีใครเกินคุณพยงค์ มุกดา ท่านประธานในพิธี เพราะท่านเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ มากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ลงมือตัดแท่งบุหรี่ด้วยตนเอง ตามข่าวว่า.. ท่านได้รับอันตรายถูกไฟลวก ที่บริเวณใบหน้า และลำตัว แต่เดชะบุญ ที่ไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิตเหตุที่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น ก็เพราะไม่มีผู้ใดคาดไปถึงว่า การที่นำเอาดาบที่ทำด้วยเหล็ก เมื่อมีการเสียดสีกับโครงเหล็ก ของแท่งบุหรี่ เพื่อที่จะตัดให้มวนบุหรี่ขาดออกจากกัน จะทำให้เกิดประกายไฟขึ้น และเมื่อเกิดประกายไฟแล้ว แก๊สที่อัดแน่นอยู่ในลูกโป่งสวรรค์หลากสีนั่นแหล่ะ ได้กลายเป็นเชื้อเพลงได้อย่างดี ทำให้เกิดการระเบิดขึ้น และไฟได้ลุกไหม้ขึ้นอย่างรวดเร็ว..เรื่องนี้คงจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับการเปิดงานประเภทนี้ต่อไปอีกนาน.. หลายคนคงไม่ทราบว่าแก๊สที่บรรจุอยู่ในลูกโป่งสวรรค์นั้น อันตรายมาก เจ้าแก๊สนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า แก๊สไฮโดรเจน ซึ่งมีความเบากว่าอากาศ จึงสามารถทำให้ลูกโป่งลอยได้ แต่ก็มีผลเสีย คือ เป็นแก๊สที่ไวไฟมากเช่นกัน ในสมัยก่อน เมื่อเวลามีงานรื่นเริงต่าง ๆ ก็มักจะมีการประดับประดาบริเวณงานให้สวยงามด้วย ลูกโป่งสวรรค์หลากสี เหล่านี้ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะมีคนมือบอน แขวนเศษกระดาษไว้กับเชือกผูกลูกโป่ง แล้วปล่อยให้ลูกโป่งลอยขึ้นไป พร้อมกับจุดไฟที่กระดาษเมื่อไฟที่กระดาษลามไปถึงตัวลูกโป่งก็จะทำให้เกิดการระเบิดขึ้น ทำให้มีเสียงดังเป็นการสร้างความครึกครื้น สนุกสนาน ซึ่งการเล่นแบบนี้ เป็นอันตรายมาก ดังนั้นในโรงแรมหลาย ๆ แห่ง เมื่อมีการจัดงาน เขาจะขอร้องแกมบังคับ ไว้เลยว่า ไม่ให้มีการใช้ลูกโป่งอัดแก๊สประเภทนี้ไว้ในงาน อย่างเด็ดขาด .. แต่ในปัจจุบัน บางแห่งมีการนำแก๊สฮีเลียม มาบรรจุในลูกโป่งแทน แก๊สไฮโดรเจน ซึ่งเจ้าแก๊สฮีเลียมนี้ มีคุณสมบัติที่ไม่ติดไฟ แต่ก็มี ราคาแพงมากจึงไม่เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายเหมือนลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สไฮโดรเจนในงานบางประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเปิดป้ายชื่ออาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ ก็มักจะนิยมใช้ลูกโป่งสวรรค์ จำนวนมากผูกติดไว้กับผ้าแพรที่คลุมป้ายชื่ออาคาร หรือสถานที่นั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการต่อไฟฟ้าชั่วคราว จากปุ่มที่แท่นทำพิธี โยงไปถึงป้ายชื่อนั้น เมื่อถึงพิธีเปิดป้ายอาคาร ก็จะมีการกดปุ่มไฟฟ้า เพื่อให้แพรที่คลุมป้ายนั้น ค่อย ๆ แยกตัวออกอย่างช้า ๆเมื่อแพรเปิดป้ายหมดก็จะถูกลูกโป่งสวรรค์ที่ผูกอยู่ดึงให้ลอยขึ้นฟ้าไปอย่างงามสง่า และสวยงาม แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถ รังรองผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ผมเองเคยเห็นงานเปิดป้ายชื่อบริษัทบางแห่งซึ่งเมื่อถึงเวลากดปุ่มไฟฟ้าที่ว่านี้กลับทำให้เกิดประกายไฟ ซึ่งทำให้เจ้าแก๊สไฮโดรเจนที่บรรจุอยู่ในลูกโป่งระเบิดตูมขึ้น กลายเป็นตัวการทำให้ไฟไหม้ป้ายชื่อบริษัทเรียบไปเลย ถือว่าเป็นความโชคร้ายอย่างยิ่งทีเดียว.. เพราะไหนจะต้องทำให้บริษัทต้องเสียเงินทำป้ายชื่อใหม่แล้ว .. ยังทำให้เจ้าของบริษัท และพนักงานต้องขวัญเสียไปอีกนานเลยครับหลังจากที่ผมได้พบเหตุการณ์เช่นว่านี้ หลายครั้งเมื่อถึงคราวเปิดป้ายอาคาร ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด สำหนักงานใหญ่ที่ถนนสีลม ผมได้แนะนำให้ใช้คนเป็นผู้ปล่อยลูกโป่งแทนการใช้กระแสไฟฟ้า โดยจัดให้พนักงานที่ทำหน้าที่ปล่อยลูกโป่ง และแพรคลุมป้ายชื่ออาคารไปแอบซ่อนตัวไว้ เพื่อให้ดูสมจริง ส่วนการกดปุ่ม ก็เป็นเพียงการให้สัญญาณเสียงออดเพื่อให้พนักงานพวกนี้ทำหน้าที่ตนอย่างพร้อมเพรียง กันเท่านั้น วิธีนี้ก็ดูไฮเทคดี แล้วยังปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ อีกด้วย .. วิธีที่ว่านี้ได้นำมารปะยุกต์ใช้ในการเปิดแพรคลุมป้าย อาคารสูงที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ที่พอเอ่ยชื่อใคร ๆ ก็รู้จัก แต่อย่าบอกดีกว่านะครับ .. เพราะไม่ได้ค่าโฆษณา