ตอนที่ 20 – ตึกพัง (ทรุด)
เมื่อประมาณต้นปี 2542 เวลาประมาณเที่ยงคืนได้เกิดเหตุอาคารที่ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ แถว ๆ ถนนลาดพร้าวได้เกิดเอียงล้มลงมาทั้งหลัง โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เพราะหนีได้ทัน หลังจากนั้น 2-3 วันเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรุงเทพมหานครท่านหนึ่งได้เชิญผมไปสำรวจอาคารที่เกิดเหตุนี้ ผมก็ยินดีให้ความร่วมมือเต็มที่ครับ?อาคารที่ว่านี้ตั้งอยู่ในซอยแคบ ๆ แถวบางกะปิ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2528 มีลักษณะเป็นห้องแถว 4 ชั้นครึ่ง ชั้นบนตามสภาพที่เห็นเป็นโครงสร้าง เสาคาน และพื้นสำเร็จรูป ภายในอาคารกั้นเป็นห้องเช่า มีห้องน้ำในตัวจากสภาพที่ผมไปพบนั้นตัวอาคารทั้งหลังได้ล้มไปทางด้านคลองแสนแสบ โดยโครงสร้างไม่มีรอยร้าว กระจกบานเกล็ดไม่ร่วงหลุด แสดงว่าตัวอาคารน่าจะล้มลงช้า ๆ ทั้งหลั่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาที่เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ไหวส่วนสาเหตุยังไม่ชัดแจ้งจากการสอบถามคนแถวนั้นได้ความว่า เจ้าของอาคารที่เพิ่งจะซื้ออาคารนี้มาได้ประมาณ 6 เดือน และตัวอาคารก็น่าเอียงทรุดอยู่แล้ว เพราะเจ้าของอาคารคนปัจจุบันได้ว่าจ้างให้ผู้รับเหมามาทำการเจาะเข็มเพิ่ม ซึ่งเป็นไปได้ว่าเขาตั้งใจที่จะเสริมเสาเข็มและฐานรากแต่เพิ่งจะลงมือเจาะเสาเข็มได้เพียง 10 ต้นอาคารก็พังลงมาเสียก่อนซึ่งโดยทั่วไปการชำรุดของอาคารนั้น มีสาเหตุใหญ่ ๆ เพียง 4 ข้อคือ สาเหตุจากกากรออกแบบ สาเหตุจาการก่อสร้าง สาเหตุจากกากรใช้งานและสาเหตุจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และแรงกระทำจากภายนอก เป็นต้นประเด็นที่ผมจะเล่าให้ฟัง ก็คือ ผมได้รับเชิญให้ไปตรวจสอบสภาพพื้นที่ที่เกิดเหตุนี้ในนามของผู้แทนของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(ว.ส.ท.) ซึ่งขณะนั้นผมไม่ได้รับหน้าที่กรรมการ
อำนวยการของสมาคมฯ ผมจึงรีบโทรศัพท์ ขออนุญาตท่านนายกสมาคมฯ ก็ได้กรุณามอบหมายให้ผมเป็นตัวแทนของ ว.ส.ท. และให้เข้าร่วมประชุมกับกรุงเทพมหานครในวันรุ่งขึ้น เพื่อปรึกษาหารือถึงเรื่องนี้อีกด้วย ในการประชุม ประธานที่ประชุม คือ ท่านผู้ว่ากรุงเทพมหานครได้ขอให้ผมสรุปสาเหตุของปัญหาทำให้ตึกพัง ซึ่งผมก็สรุปเป็นหลักกว้าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น และได้เพิ่มเติมว่าในฐานะวิศวกรแล้ว ต้องมีข้อมูลละเอียดมากกว่านี้ เช่น แบบ และข้อมูลที่ก่อสร้างจริงซึ่งขณะนั้นไม่สามารถเข้าไปสำรว่จได้เพราะยังไม่ได้มีการรื้อถอนอาคารหากเข้าไป สำรวจในระหว่างนี้จะเป็นเรื่องที่อันตรายมากเนื่องจากตัวอาคารมีโอกาสที่จะทรุดตัวถล่มลงมาได้ และผมได้แนะนำว่าการรื้อถอนก็ควรจะกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญและต้องประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานที่ดี โดยผู้รื้อถอนต้องพยายามลดระดับจุดศูนย์ถ่วงของอาคารให้ต่ำลงมา เรื่อย ๆ เพื่ออาคารจะได้ไม่โค่น ขณะทำการรื้อถอนก่อนที่จะมีการสรุปถึงสาเหตุของการทรุดตัวของอาคารดังกล่าวมีท่านผู้รู้อีกท่านหนึ่งได้พยายามกล่าวสรุปเป็นเชิงตัดสินถึง สาเหตุก่อนแล้ว แต่หลังจากที่ผมได้ขอให้มีการหารายละเอียดเพิ่มเติมให้มากกว่านี้ เพื่อมาประกอบการพิจารณาก่อนที่จะมีการสรุปท่านผู้นี้ก็เห็นด้วยกับผม?ฐานะของนักวิชาการซึ่งปฏิบัติวิชาชีพนั้นต้องทำงานโดยมีหลักการมีข้อมูลครบ เพื่อหาข้อสรุปที่สมเหตุสมผลโดยมีหลักฐานประกอบอย่างชัดเจน และที่สำคัญ? ต้องไม่ลืมว่าเราได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อะไรอยู่? อย่าด่วนทำตัวเป็นผู้พิพากษา นะครับ?