Skip to main content

ตอนที่ 22 – สำนึกแห่งความปลอดภัย


เมื่อตอนที่ผมเรียนอยู่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ปี 2 นั้น ในหลักสูตรปีแรก ๆ จะเรียนเหมือนกันหมดทุกสาขา เพราะเป็นปีแห่งการสร้างและปลูกฝังรากฐานความคิดที่จะเป็นวิศวกร(ที่ดี) ต่อไปผมเรียนวิชา Strength of Material หรือกำลังวัสดุ กับท่านอาจารย์หลวงชลานุสรณ์ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุมากพอสมควรแล้ว โดยสายตาของผมซึ่งขณะนั้นก็ยังเป็นเด็กอยู่มาก ท่านเป็นอาจารย์ที่ใจดีมากเวลาสอนท่านจะสอนไปเล่าประสบการณ์ของท่านไป ทำให้เราเพลิดเพลินกับการเรียนไปได้เยอะนิสิตวิศวฯ สมัยผมเรียนยังไม่มีคอมพิวเตอร์ไม่มีเครื่องคิดเลขพกพาเหมือนสมัยนี้ เราใช้ไม้บรรทัดคำนวณ หรือ Slide Ruler เป็นเครื่องมือหากินและเป็นเครื่องมือที่แสดงว่าเราเป็นวิศวฯด้วย ไปไหน ๆ ในจุฬาฯ หรือนอกจุฬาก็ตาม เรามักจะพกพาเจ้าไม้บรรทัดคำนวณที่ว่านี้ไปด้วยเสมอ ๆ แม้ว่าในวันนั้นจะไม้ต้องใช้ไม้บรรทัดคำนวณเลยก็ตามรุ่นพี่ผมคนหนึ่งซึ่งมีชื่อเดียวกับผม เป็นลูกมหาเศรษฐีชนบทเวลาขอสตางค์จากทางบ้านมาเพื่อซื้อไม้บรรทัดคำนวณที่ว่านี่ เขาจะเบิกเพียง 200 บาท แต่พอเงินหมด ก็ขอซื้อ Slide Ruler อีก 500 บาท ซึ่งคุณพ่อของเขาก็ให้ถึงปัจจุบันเขาคงจะถูกผลกรรมตามทันโดนลูก ๆ หลอกเอาบ้างแล้วกระมัง? เวลาใช้ไม้บรรทัดคำนวณอธิบายอะไรซักอย่างนั้นผู้ใช้ต้องเลื่อนจุดทศนิยมเอาเอง ดังนั้นเราจึงต้องใช้หลักวิชาและสามัญสำนึกควบคู่กันไปว่าผลลัพธ์ของการคำนวณนั้น ๆ ควรจะเป็นเท่าไรในการสอบเก็บคะแนนครั้งหนึ่งคำตอบของข้อสอบข้อหนึ่งจะต้องตอบ 80 แต่ผมตอบ 8 ทั้งๆ ที่วิธีทำถูกต้องหมด ซึ่งท่านอาจารย์หลวงฯ ท่านให้ “ศูนย์” คือเอาไข่ไปกินผมไปตามทวงขอคะแนนจากท่าน เพราะกลัวไม่ได้เต็ม ท่านสั่งสอนผมกลับว่า เราจะเป็นวิศวกรที่ดี ถ้าเราคำนวณโครงสร้างแล้วผลลัพธ์ว่าต้อง เสริมเหล็ก 80 เส้น แล้วเราเสริมเหล็กเพียง 8 เส้นตึกจะพังไหมและถ้าวิศวกรทำตึกพัง ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจะใหญ่หลวงมากดังนั้นครูจึงให้เธอ “ศูนย์” ดีกว่าที่จะไปทำให้ตึกเขาพังผมขอบพระคุณท่านและสำนึกในบุญคุณอันใหญ่หลวงนี้มานามนและจะไม่มีวันลืม เพราะทำให้ผมได้มาถึงทุกวันนี้ถึงแม้วันนั้นผมจะไม่ได้คะแนนเต็มก็ตาม